ศาลสิงโตทอง

ศาลสิงโตทอง ในสมัยก่อนนั้นได้มีทำการค้ากับประเทศจีน และได้มีเรือสำเภาลำหนึ่งแล่นผ่านมาปากน้ำบางกอกน้อยและได้เกิดเรือ อับปางขึ้นของที่อยู่ในเรือลำนั้นได้จมลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาหมดทั้งลำเรือ และได้มีการงมของขึ้นมาหนึ่งในจำนวนนั้น ได้งมได้สิงโตหินเพศเมียได้มาตัวหนึ่งและด้วยการบอกเล่าของเจ้าของเรือว่า ตนได้นำสิงโตลงเรือมาหนึ่งคู่ เพื่อจะสร้างความสมดุลให้แก่การเดินเรือที่บรรทุกของมายังประเทศไทย

ปราฎิหาริย์ของสิงโตทอง

เมื่อมีการงมของขึ้นมาจากแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ได้เจอกับรูปปั้นของสิงโตเพศเมียตัวหนึ่งจึงได้ทำการช่วยกันนำขึ้นมา และก็ได้ทำการหันหน้าของสิงโตเข้าหาฝั่ง และต่อมาวันหนึ่งสิงโตเพศเมียตัวนี้ได้ทำการหันหน้าออกไปทางแม่น้ำ โดยชาวบ้านในละแวกนั้นเชื่อกันว่าสิงโตคงอยากจะมองหาคู่ของตัวที่ได้จมน้ำหายไปโดยหาไม่เจอนั่นเอง และยังมองว่าเป็นความรักที่ซื่อสัตว์ที่ยังรอคอยแม้เวลาจะผ่านไปเท่ารัยก็ยังรอคนที่รักกลับมา

ความเชื่อ

มีคนเก่าแก่ได้เล่าต่อๆกันว่าสิงโตที่ตั้งอยู่ตรงข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นี้เป็นเพียงหนึ่งในสามตัว ซึ่งอีกสองตัวได้จมอยู่ในแม่น้ำยังหาไม่เจอ และมีตัวขนาดเท่ากันกับสิงโตที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้หนึ่งตัวและมีอีกตัวหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งว่ากันว่าเป็นตัวแม่ บางวันชาวบ้านในละแวกนั้นจะได้ยินเสียงร้องของลูกสิงโตที่เรียกหาแม่ และยังได้แสดงอิทธิฤทธิ์ให้ชาวบ้านได้เจอกันบ่อยครั้งจนต้องตั้งศาลให้อยู่จนถึงปัจจุบันและได้มีการเรียกศาลนี้ว่าศาลสิงโตทอง และได้มีเรื่องเล่าเมื่อหลายสิบปีก่อน ของสิงโตทองว่าหน้าบริเวณแม่น้ำเจ้าพระตรงบริเวณนี้จะมีคนจมน้ำตายอย่างน้อยปีละหนึ่งคน ชาวบ้านเชื่อว่าสิงโตทองต้องการจะนำเอาชีวิตเหล่านี้ไปเป็นบริวาร และความเป็นมาของสิงโตทองนั้นไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าความเป็นมาเป็นอย่างรัย และมาตั้งข้างมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้อย่างไร

ของที่นำมาบูชา

ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะมาบนบานขอพร กันเป็นประจำและได้มีของมาถวายแตกต่างกันไป บางคนนำลูกแก้วมาถวายเพราะเชื่อว่าสิงโตนั้นชอบเล่นลูกแก้ว บางคนนำสร้อยมุกมาถวาย หรือจะเป็นพวกดอกไม้ ผลไม้ และสิงโตที่จะต้องนำมาถวายนั้นเป็นคู่เสมอ และบางคนยังนำเนื้อสดมากราบไหว้ แต่ห้ามนำกับไปรับประทานเด็ดขาดเพราะจะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นกับตัวเอง และชาวบ้านหรือนิสิตนักศึกษาจะมาขอให้สมหวังเรื่องเรียนและเรื่องของความรักเป็นส่วนใหญ่