ประเพณีการเดินเต่า

      ในประเทศไทยเรานั้นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค

ประเพณีการเดินเต่า ซึ่งในหนึ่งภูมิภาคนั้นก็จะมีประเพณีต่างๆแยกย่อยกันไปอีกตามความเชื่อ หรือวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ได้ทำการสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน โดยในบางประเพณีก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยทำกันมา แต่ในบางประเพณีที่เกิดขึ้นใหม่นั้นก็มีการปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันกันเสียมากกว่า ทั้งนี้ก็เพื่อให้เข้ากับช่วงเวลาและการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบันด้วย และประเพณีเดินเต่าเองถือเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่เป็นประเพณีดั้งเดิมและมีมาอย่างยาวนานควรค่าแก่การสืบทอดต่อไป

         ประเพณีการเดินเต่านั้นถือเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวจังหวัดภูเก็ต โดยที่มีการเรียกว่า “การเดินเต่า”

นั้นเป็นเพราะว่า ชาวบ้านได้มีการออกไปเดินหาไข่เต่าที่ได้ขึ้นมาทำการวางไข่เอาไว้บนหาดทราย ซึ่งสำหรับบริเวณที่เต่าจะขึ้นมาทำการวางไข่ก็คือในส่วนของบริเวณฝั่งชายทะเลด้านตะวันตกหรือในบริเวณฝั่งทะเลอันดามันนั่นเอง ประเพณีการเดินเต่านั้นเป็นประเพณีที่มีมาอย่างยาวนานเป็นประเพณีดั้งเดิมที่แสดงให้ได้เห็นถึงการอาศัยอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตอย่างเต่าทะเล โดยฝ่ายที่ได้ประโยชน์จากประเพณีนี้แน่นอนว่าก็ต้องเป็นฝั่งของมนุษย์อยู่แล้ว

โดยที่มาของประเพณีการเดินเต่านี้ได้เกิดมาจากวิถีชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่น

ชาวประมงที่อาศัยอยู่ชายฝั่งทะเลอันดามันได้มีการดำรงชีวิตด้วยการออกหาอาหาร จับสัตว์ทะเลต่างๆมาทำเป็นอาหาร ซึ่งในช่วงเวลาที่เต่าทะเลถึงฤดูวางไข่ แม่เต่าก็จะขึ้นมาทำการวางไข่เอาไว้บนชายหาดกันในปริมาณมาก ทำให้ชายหาดบริเวณนั้นได้กลายมาเป็นแหล่งอาหารของชาวประมงที่อุดมสมบูรณ์มากเลยทีเดียว สำหรับช่วงเวลาในการเดินหาไข่เต่านั้นจะนิยมเดินหากันในช่วงเวลากลางคืน โดยเริ่มกันตั้งแต่เวลาพลบค่ำไปจนถึงเวลาสว่าง หากคนที่ไม่ชำนาญแล้วเพิ่งมาทำการเดินหาไข่เต่าทะเลก็อาจจะต้องเดินหาอยู่ทั้งคืนแล้วก็มีโอกาสที่จะไม่เจอหลุมของไข่เต่าได้

ชาวประมงที่มีความชำนาญแล้วก็จะอาศัยลักษณะพิเศษของเต่าในการออกไปเก็บไข่เต่า โดยจะมีการคำนวณเวลาว่าเวลาไหนที่ควรออกไปเก็บไข่เต่า มีการคำนวณว่าวันที่จะครบกำหนดของการวางไข่จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมกี่ค่ำ จึงทำให้ได้รู้วันและเวลาที่น้ำจะขึ้นครึ่งฝั่ง น้ำลงครึ่งฝั่ง ซึ่งนั่นจะเป็นช่วงเวลาที่เต่าทะเลจะขึ้นมาวางไข่ และหลังจากนั้นชาวประมงก็จะนำเอาตะกร้าออกไปรองไข่เต่าได้ถูกเวลาโดยที่ชาวประมงนั้นจะได้ไม่ต้องเดินไปมาให้ต้องเสียเวลาในการออกไปเดินหาหลุมไข่เต่าทะเล

          ปัจจุบันเมื่อมีการขยายตัวด้านการท่องเที่ยวขึ้นในทุกชายหาดของภูเก็ตตลอดจนของทางฝั่งของจังหวัดพังงาเอง

ได้มีจำนวนเต่าทะเลลดลงอย่างไปรวดเร็ว อีกทั้งเต่าทะเลเองก็ไม่ค่อยขึ้นมาวางไข่ตามชายหาดแล้ว ประเพณีนี้จึงกลายเป็นกิจกรรมที่ทำกันเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น และไม่มีการเดินเต่าในความหมายของประเพณีที่เคยเกิดขึ้นในอดีตอีกแล้ว ประเพณีการเดินเต่าถือว่าเป็นประเพณีที่ได้สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต ภูมิปัญญาของชาวบ้าน ชาวประมงที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นนั้นถึงการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติในการหาอาหาร ปัจจุบันการเก็บไข่เต่านั้นถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดตามกฎหมาย

ซึ่งหากมีผู้ใดไปเก็บไข่เต่าก็จะต้องมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย และได้มีปรับเปลี่ยนจากกิจกรรมประเพณีเดิมที่ไปเดินเก็บไข่เต่ามาเป็นการช่วยกันในการอนุรักษ์เต่าทะเลให้ยังอยู่คู่ทะเลไทยต่อไป

 

สนับสนุนโดย แทงบอลออนไลน์ ฝากขั้นต่ำ 100