Fitting พื้นฐานของนักออกแบบเสื้อผ้า

เมื่อการทำแพทเทิร์นหรือว่าแม่พิมพ์เป็นไปตามที่เราต้องการทุกประการแล้ว

Fitting พื้นฐานของนักออกแบบ ก็ถึงเวลาที่ต้องนำมาตัดผ้าจากแพทเทิร์นเหล่านั้นแล้วก็นำมาลองกับตัวแบบจริงๆ ถ้าเกิดว่าคุณเป็นคนที่สั่งตัดเสื้อผ้า คุณคงจะเข้าใจดีกับการโดนเรียกมายังร้านอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งส่วนมากที่โดนเรียกไปหลังจาการวัดตัวเพื่อนำไปทำแพทเทิร์นแล้ว นั้นก็คือขั้นตอนนี้แหละ การฟิตติ้ง หรือ การสร้างชุดจำลองเพื่อลองสวมใส่กับตัวแบบจริงๆ ซึ่งขั้นตอนนี้สำคัญอย่างมาก เพราะชุดจะพอดีกับตัวแบบหรือว่าพอดีกับที่เราคิดออกมาเป็นภาพสเก็ตไหม ก็อยู่ที่ขั้นตอนนี้เลย เพราะฉนั้นขั้นตอนนี้ก็เลยเป็นขั้นตอนที่อาจจะเรียกได้ว่าใช้เวลาบมากที่สุดสำหรับบางกรณี

ขั้นตอนทดลองสวมจริง คอนเซ็ปก็คือทำให้ผ้าที่ตัดออกมาจากแพทเทิร์นนั้นเข้ากับตัวแบบอย่างลงตัวมากที่สุด

ไม่ว่าจะต้องแก้สักกี่ทีก็ตามที เพราะการทำแพทเทิร์นนั้นเป็นการลองทำจากหุ่นที่มีขนาดใกล้เคียงกับตัวแบบที่ช่างได้นัดมาวัดตัวไว้ครั้งแรกนั้นเอง จึงทำให้ผ้าที่ออกจากแพทเทิร์นนั้นต่อให้ทำตามแบบเปะก็ตาม ก็อาจจะเรียกได้ว่าไม่พอกับตัวแบบจริงๆสักเท่าไหร่ จึงต้องมีการตัดผ้าออกมาเพื่อทำการสวมใส่จริงอีกครั้งแล้วจริงจะนำไปแก้ในจุดที่ไม่พอดี ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีไม่มากก็น้อยที่ต้องแก้ หายากนั้นคนที่ทำแพทเทิร์นออกมาแล้วตรงเปะไปทุกส่วน นั้นคงเรียกไปเลยว่าเทพช่างตัดเสื้อแล้วล่ะ ซึ่งการแก้นี้อาจจะยืดยาวไปหลายต่อหลายครั้งจนกว่าทุกส่วนจะพอดีกับตัวแบบอย่างแท้จริง 

แต่ไม่ต้องกลัวไปหรอกว่าขั้นตอนนี้จะทำให้เหนื่อยแสนสาหัส จริงๆแล้วการทำ Fitting นั้นจะทำการตัดผ้าออกมาแบบลวกๆ ยังไม่ถึงขั้นปราณีต

แล้วก็จะยังไม่เย็บทุกจุดอาจจะไม่ต้องเย็บเลยแต่ใช้พวกเข็มกลัดแทน เพื่อที่จะแก้ได้เลย ถ้าช่างที่ชำนาญจริงๆ อาจะแก้กันเดียวนั้นจนเสร็จสิ้น หรือไม่ก็เจอช่างทำงานลวกๆ แบบทำแค่นี้แหละ ก็ซวยไปนะจ๊ะ